พระสมเด็จ บางขุนพรหม
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
วัดบางขุนพรหม ที่เป็นถิ่นกำเนิดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงธนบุรี เดิมชื่อเรียกว่า “วัดวรามะตาราม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า “วัดอำมาตยรส” หรือ “วัดอมตรส” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางขุนพรหม” วัดบางขุนพรหมมีพระองค์เจ้าอินทร์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้ดูแลทำนุบำรุง กระทั่งพระองค์เจ้าอินทร์สิ้นชีพิตักษัย ก็มีเสมียนตราด้วง(ต้นตระกูลธนโกเศศ) มาเป็นโยมอุปัฏฐากแทน
ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ผ่านกลางวัด แยกวัดบางขุนพรหมออกเป็น 2 วัด คือ 1. วัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ และพบพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมในกรุ 2. วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) ตามพระนามพระองค์เจ้าอินทร์ ที่ประดิษฐานพระหลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่
พ.ศ. 2413 เสมียนตราด้วงได้ปรึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ พระเกจิอาจารย์ในยุคสมัยนั้น ที่ตนมีความสนิทคุ้นเคย ว่าอยากจะสร้างพระไว้ให้คนรุ่นหลัง เพราะการสร้างพระเป็นมหากุศลยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เริ่มชราภาพ ท่านชอบวัดบางขุนพรหมมาก มักจะเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดระฆังฯ กับวัดบางขุนพรหมเป็นประจํา
การสร้างพระครั้งนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเห็นชอบ และยังแนะนํา ว่าถ้าจะสร้างพระให้สร้างเป็นพระเนื้อผง เหมือนที่ท่านเคยสร้างพระวัดระฆังฯ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งพระวัดระฆังฯ มีชื่อเสียงเป็นที่เช่าบูชากันตั้งแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังไม่สิ้น โดยท่านจะให้ยืมบล็อกที่สร้างพระวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นบล็อกที่นิยมมีอยู่ 4 บล็อก ได้แก่ บล็อกพิมพ์ใหญ่, บล็อกพิมพ์ทรงเจดีย์, บล็อกพิมพ์เกศบัวตูม และบล็อกฐานแซม
การสร้างครั้งนั้นมีความคิดว่าจะสร้างให้ได้มากที่สุด สร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ [สันนิษฐานว่าจำนวนที่สร้างจริงคงไม่เกิน 10,000 องค์] เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนําไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ เพื่อที่ต่อไปภายหน้า หากประเทศชาติวิบัติ จนประชาชนเดือดร้อน ก็สามารถนําพระที่สร้างขึ้นออกมาใช้ได้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสาร ผงวิเศษหลายชนิดที่ท่านปลุกเสกจากการร่ำเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร ทั้งแนะนําให้ใช้เนื้อผงปูน เปลือกหอย หรือปูนหิน ผสมผสานสร้างพระขึ้นมา เมื่อสร้างเสร็จก็จะบรรจุลงพระเจดีย์
เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทางวัดเห็นว่า เห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้ จะทำให้พระเจดีย์พัง และทรัพย์สินที่เสมียนตราด้วง และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เก็บไว้เกิดความเสียหาย จึงประชุมกันเพื่อเปิดกรุเป็นทางการในปีนั้น โดยมีจอมพล ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นมาเป็นประธาน พระที่ได้จากเปิดกรุมีประมาณ 3,000 องค์ พระทุกองค์จะใช้ตรายางขอวัดประทับตราที่ด้านหลัง พระที่ขึ้นมาในคราวนั้นจะมีคราบกรุจับหนา บางทีย่นเป็นหนังกระเบน บางองค์กอดกันเป็นก้อนต้องค่อยๆ กะเทาะออก
หากกล่าวถึง พระเครื่อง ชื่อของ “พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม” และ “พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม” ซึ่งต่างเป็นพระเครื่องที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างและปลุกเสก ย่อมเป็นศรัทธาและนิยมกันในวงการผู้สะสมพระเครื่อง
ในด้านพุทธคุณนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหมก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังเลยเพราะสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านได้ร่วมในการสร้างและปลุกเสก วันนี้ผมจะมาสอนดูลักษณะและตำหนิของพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่
ชี้ตำหนิ
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ ด้านหน้า ดูพิมพ์ทรงเป็นหลัก สมเด็จบางขุนพรหมจะเนื้อค่อนข้างแน่น มวลสาร ดำๆ แดงๆ น้อย และเนื้อกรุเก่า มีความแกร่ง แต่เปราะ หักง่าย คราบกรุมีลักษณะเหมือนฟองเต้าหู้ เส้นซุ้มพิมพ์คมชัด มีคราบลักษณะเป็นเปลือกร่อนๆ พระที่ถูกใช้มามวลสารจะลอยขึ้น ตัวตัดคมชัด ตัดตรง เป็นเหลี่ยมแท่ง เรียกว่า สับตอกแบบโบราณ บางองค์มีลักษณะการบิดขององค์พระ บิดเบี้ยวหรือแอ่นได้
ด้านหลังมวลสารเป็นลักษณะกดปาดพิมพ์ เนื้อด้านหลังเรียบและมีรอยย่นบ้างเป็นบางองค์ ลักษณะพระจะแอ่น ด้านหลังมีทั้งแบบมีรอยปั้มและไม่มีรอยปั้มหมึก เนื้อค่อนข้างแน่น ด้านในเป็นปูนขาว ปูนเปลือกหอยเป็นส่วนใหญ่ มวลสารจะน้อย มีเม็ด ดำๆ แดงๆ แต่น้อยมาก
ด้านข้าง ตัวตัดคมชัด สโลปได้ โย้ย้วยได้ บิดได้ แล้วแต่องค์พระ เป็นไปตามธรรมชาติบางขุนพรหม ซึ่งแตกต่างจากวัดระฆัง
สามารถดูคลิปวีดีโอสอนได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=rVEkb9CqUfo
ถ้าคุณมีพระแบบนี้ ผมรับซื้อ ส่งรูปพระของคุณมาที่ Line : @tone8888
ติดตามไลฟ์สดพระแท้ อยากได้พระดี อยากมีพระแท้ ต้องเพจเฟสบุ๊ก โทน บางแค FC. เท่านั้น