






พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม พิมพ์โบราณ เนื้อโลหะผสม
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!การสร้าง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง นั้น ส่วนมากมีเอกลักษณ์ที่องค์พระนั้นมักจะมีประคําด้วยเสมอ ซึ่งสันนิษฐานว่าท่านคงจะนําเค้าโครงมาจากพระกริ่งตั๊กแตน และพระชัยวัฒน์ของท่านนั้น จะมีการเจาะที่ใต้ฐาน ซึ่งหลวงพ่อเอี่ยม จะลงยันต์ที่กระดาษสา นําไปบรรจุไว้ที่ใต้ฐานพระแล้วอุดด้วยชันโรงทุกองค์
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านได้สร้างพระชัยวัฒน์ไว้ครั้งแรกที่วัดโคนอน ต่อมาเมื่อท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนังแล้ว (หลวงปู่เอี่ยม ท่านย้ายมาครองวัดหนังในปี พ.ศ.2441) ท่านจึงได้สร้างพระชัยวัฒน์ ขึ้นที่วัดหนัง
การสร้างพระชัยวัฒน์ที่วัดหนังในครั้งแรกๆ นั้น คงอยู่ในราวๆ ปี พ.ศ.2442-2462 มักเรียกกันว่า รุ่นโคนต้นจันทร์ สันนิษฐานว่าคงจะทําพิธีเททองที่บริเวณใกล้ๆ กับต้นจันทร์ พระชัยวัฒน์รุ่นนี้นับว่าหายากมาก คงจะสร้างจํานวนไม่มากนัก
ต่อมาในปี พ.ศ.2463 หลวงปู่เอี่ยมท่านได้สร้างพระชัยวัฒน์อีกครั้งหนึ่ง พระรุ่นนี้มักนิยมเรียกกันว่า “รุ่นสร้างเขื่อน” เนื่องจากทางวัดได้จัดสร้างเขื่อนริมน้ำหน้าวัดหนัง แต่ยังขาดปัจจัยและเงินทุน จึงได้มีการจัดสร้างพระทั้ง 2 พิมพ์นี้ขึ้น เพื่อแจกให้ญาติโยม ที่มีจิตใจศรัทธาในการร่วมทําบุญบริจาคเงิน
พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง รุ่นนี้ประกอบด้วย พิมพ์เขื่อนใหญ่ หรือ พิมพ์เบ้าแตก และ พิมพ์เขื่อนเล็ก พระทั้งสองพิมพ์เป็นพระชัยวัฒน์ประทับนั่งปางสมาธิ ที่ใต้ฐานเจาะรูเพื่ออุดชันโรง เนื้อเป็นเนื้อโลหะผสมออกเหลือง ส่วนพระชัยวัฒน์พิมพ์เขื่อนใหญ่นั้น ระหว่างการเททองแม่พิมพ์เกิดแตกร้าว พระที่ออกมาบางองค์จึงไม่ค่อยสวย บางท่านจึงเรียกว่า “พิมพ์เบ้าแตก” ก็มี ส่วนพระพิมพ์เขื่อนเล็กนั้น ที่มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะองค์พระเป็นอีกพิมพ์หนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์เขื่อนใหญ่ จึงนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์เขื่อนเล็ก”
พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม มีกรรมวิธีการสร้างโดยการเทเป็นช่อ ช่างจะขุดเป็นหลุมในหุ่นเทียนเพื่ออุดชันโรงที่หลวงปู่เอี่ยมปลุกเสกโดย มีช่อชนวนอยู่ด้านขวามือขององค์พระ มีทั้งเนื้อเหลืองและเนื้อดํา เฉพาะพระเนื้อดําจะพบรอยตะไบที่บัว
พระองค์นี้มีบัตรรับรองจาก
TAG (THAI AMULET GUARUNTEE)
สถาบันการันตีและประเมินมูลค่าวัตถุมงคลแห่งประเทศไทย