







เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!ประวัติหลวงพ่อวัดเขาตะเครา (หลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา) วัดเขาตะเครา หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา เชิงเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อวัดเขาตะเคา เป็นพระพุทธรูป คูบ้านคู่เมืองของประเทศไทย เป็นพระพุทธรูป นั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ศิลปะเชียงแสน วัสดุสำริดปิดทอง สูง ๒๖ นิ้ว หน้าตัก ๒๑ นิ้ว ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปปั้น หรือ โลหะ หรือเป็นไม้แกะ เพระปิดทองหนามากจนไม่เห็นองค์เดิม เนื่องจากประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของคนจังหวัดเพชรบุรี และ ทั่วประเทศ เป็นเวลานานกว่า 200 ปี หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา เป็น พระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง ของเมืองเพชรบุรี ที่ชาวเมืองและคนในท้องถิ่นใกล้เคียงเคารพนับถือและเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านมานานหลายชั่วอายุคน ความเป็นมาของหลวงพ่อไม่ปรากฏชัดนัก มีเล่ากันเป็น ๒ ตำนาน ตำนานแรกว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็น พระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาด้วยกันจากเมืองเหนือ และเข้าสู่สายน้ำสายหลักๆ ได้แก่ บางปะกง แม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา เพชรบุรี แล้วได้ขึ้นประดิษฐานยังวัดโสธรฯ วัดบ้านแหลม วัดไร่ขิง วัดบางพลีใหญ่ในและวัดเขาตะเคราแห่งนี้ตามลำดับ ส่วนอีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขตะเคราว่ามีประวัติความเป็นมาอยู่รวมกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม โดยเล่ากันมาว่าชาวประมงวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม ซึ่งเป็นคนกลุ่ม ที่อพยพย้ายถิ่นไปจากอำเภอบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี ออกไปตีอวนหาปลาตามปกติ ปรากฏว่าได้พระพุทธรูปสององค์ขึ้นมาพร้อมกัน องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน ชาวบ้านแหลมได้เชิญไปประดิษฐานไว้สักการะบูชาอยู่ที่วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยได้มอบให้ญาติพี่น้องชาวบ้านแหลม เพชรบุรีไปสักการะบูชา ซึ่งได้แก่ หลวงพ่อวัดเขาตะเครานั้นเอง เหตุกาลตามตำนานทั่งสองนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แจ้งชัด แต่เมื่อสุนทรภู่เดินทางมาเพชรบุรี และแต่นิราศเมืองเพชรบุรีขึ้นเมื่อปี ๒๓๗๔ หลวงพ่อวัดเขาตะเคราก็เป็นที่เคารพกราบไหว้ ของชาวเมืองและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดเขาตะเคราก็เป็นที่เลื่องลืออยู่ในถิ่นนั้นมามากและเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ดังกลอนที่ว่า …ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท มีอาวาสวัดวามหาเถร มะพร้าวรอบขอบที่บริเวณ พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ จะขึ้นไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน เขาลืออยู่แต่บุราน ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน… จนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อเขาตะเคราก็เป็นที่ศรัทธากราบไหว้และเป็นที่พึ่งทางใจแก่คนจำนวนมาก ดั่งจะเห็นได้จากทองคำเปลวที่ปิดพอกองค์จนแทบไม่เห็นลักษณะอันแท้จริงว่ากัน ว่าผู้ที่มาบนบานกับท่าน หากเป็นการบนตัวบวชมักจะสำเร็จสมประสงค์เสมอ วัดเขาตะเคราได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อในวันขึ้น ๑๓ ค่ำถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ จัดเป็นงานใหญ่และมีผู้คนมากมายทั้งใกล้และไกลเดินทางมาสักการะบูชาหลวงพ่อ
พระองค์นี้มีบัตรรับรองจาก
TAG (THAI AMULET GUARUNTEE)
สถาบันการันตีและประเมินมูลค่าวัตถุมงคลแห่งประเทศไทย