5 สถานที่ดังที่คนนิยมไปกราบไหว้ขอโชค ขอพร

1. คําชะโนด จ.อุดรธานี

ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยการเล่าขานตำนานลี้ลับอันโด่งดัง คําชะโนด (Kham Chanod) ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ วัดศิริสุทโธคำชะโนด ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านทั้งในจังหวัดอุดรธานีและใกล้เคียงต่างให้ความเคารพและสักการะนับถือเป็นอย่างมาก เป็นสถานที่แห่งความเชื่อเรื่องพญานาค ซึ่งชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค และเป็นทางเชื่อมต่อไปยังเมืองบาดาลได้ มีการปกครองรักษาโดยพญานาคราชปู่ศรีสุทโธ และองค์แม่ศรีปทุมมานาคราชเทวี ที่นี่ถูกปกคลุมด้วยผืนป่าต้นชะโนดขนาดใหญ่อยู่ทั่วบริเวณ ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ซึ่งแต่ละต้นล้วนมีอายุยาวนาน เป็นต้นไม้ที่แทบจะไม่มีในประเทศไทย ถือว่าที่นี่เป็นแห่งเดียวที่พบและมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน ที่ คำชะโนด มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานพญานาค ซึ่งตามตำนานเชื่อกันว่า พญาศรีสุทโธนาคราช เป็นผู้ขุดแม่น้ำโขงโดยใช้ป่าคำชะโนดเป็นจุดทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองบาดาลและโลกมนุษย์ ซึ่งบริเวณดังกล่าวคือ สะพานปูนรูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร และถ้าสังเกตให้ดี ๆ ตรงกึ่งกลางของสะพานจะมีรอยแยก ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์กับเมืองบาดาลนั่นเอง

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

2. วัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม

           ตั้งอยู่ที่ ต.แก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นวัดที่ผู้คนทั่วไทยต่างพากันมาขอพรองค์พระพุทธรูปและเทพเจ้าเทวดาฟ้าดินที่ประดิษฐานครบถ้วนในสถานที่ของวัดสว่างอารมณ์!!! โดยมีหลวงพ่อแป๊ะหรือท่านพระครูยติธรรมานุยุต เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ แต่ชาวบ้านจะเรียกหลวงพ่อรวยหรือหลวงพ่อแป๊ะ หลวงพ่อแป๊ะท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานมีคาถาวิชาอาคมจนกลายเป็นนักบุญในลุ่มน้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรี ดังนั้นผมขอใช้คำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ สำหรับวัดสว่างอารมณ์เป็นวัดสร้างมาเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดเนื่องจากเป็นวัดร้างต่อมาในปี พ.. 2506 คณะสงฆ์ได้บูรณะวัดสว่างอารมณ์ขึ้นมาใหม่ในเนื้อที่ 4 ไร่จัดสร้างเสนาสนะ เช่น กุฏิพระและอุโบสถแต่เส้นทางเข้าวัดเป็นทางลูกรังถึงอย่างไร้ก็ตามวัดสว่างอารมณ์เริ่มเจริญคือสมัยท่านพระครูยติธรรมานุยุติหรือหลวงพ่อแป๊ะเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานและพระนักพัฒนาชาวบ้านในย่านตำบลขุนแก้วให้ความเคารพนับถือมาก ปัจจุบันผู้คนเลื่อมใสศรัทธากันมากต่างพากันไปกราบบูชาขอพรองค์พระพุทธรูปและองค์เทพเจ้าที่ประดิษฐานในบริเวณวัดสว่างอารมณ์มากจริง ๆ โดยมีสถานที่แนะนำดังต่อไปนี้

    • จุดที่ 1 จอดรถแล้วทำพิธีลอดผ่านใต้โบสถ์
    • จุดที่ 2 ศาลเจ้าแม่กวนอิม
    • จุดที่ 3 เทพเจ้าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูขอโชคลาภและมีรูปปั้นพ่อปู่ศรีสุทโธพญานาคราชประดิษฐานด้วย เสร็จแล้วเดินไป
    • จุดที่ 4 ขอพรไอ้ไข่กุมารทองแห่งวัดเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชขอบอกสิ่งของแก้บนเต็มพื้นที่และ
    • จุดที่ 5 ขึ้นบนศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพระบรมสารีริกธาตุนอกจากนี้ภายในวัดยังมีรูปหล่อหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อโตพรหมรังสี เทพเจ้าศาสนาพราหมณ์พระแม่อุมาเทวี ให้กราบไหว้ขอโชคขอพรกันอีกด้วย

3. วัดเจดีย์ "ไอ้ไข่" จ.นครศรีธรรมราช

          เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยมีชื่อเสียงโด่งดังเกี่ยวกับ “ไอ้ไข่” เด็กวัดที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ผู้ที่มาเยือนวัดเจดีย์มักบนบานขานกล่าวกับ “ไอ้ไข่” ขอให้ตัวเองสมปรารถนาในสิ่งหนึ่งสิ่งใดส่วนใหญ่เชื่อว่า “ไอ้ไข่” สามารถดลบันดาลให้เป็นอย่างใจนึก มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามากมายและมักได้ตามที่บนบานไว้

          วัดเจดีย์ไอ้ไข่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลฉลอง มีการเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนว่า สถานที่ตั้งวัดเจดีย์ปัจจุบันนั้น เมื่อก่อน หลวงปู่ทวด พระเกจิอาจารย์ดังสายปักษ์ใต้ ได้เดินธุดงค์และมาปักกลดอยู่ในบริเวณนั้น ส่วนไอ้ไข่นั้น เชื่อว่าเป็นวิญญาณเด็กอายุประมาณ 9-10 ขวบ เป็นลูกศิษย์ซึ่งติดตามหลวงปู่ทวด เมื่อหลวงปู่ทวดมาถึงสถานที่ดังกล่าว กลับพบว่ามีทรัพย์สมบัติและศาสนสถานที่สำคัญเป็นจำนวนมาก จึงได้ให้ไอ้ไข่สิงสถิตเฝ้าทรัพย์สมบัติดังกล่าว วิญญาณดวงนี้เฝ้าดูแลปกปักรักษาทรัพย์สินของแผ่นดินและอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา จากศรัทธาที่ผู้คนต่างเชื่อกันว่า “ขอได้ ไหว้รับ” ทำให้มีผู้คนมากราบไหว้ไอ้ไข่หรือตาไข่กันเป็นจำนวนมากเพื่อขอพรและโชคลาภ และนิยมมาแก้บนด้วยรูปไก่ชน ชุดทหาร หนังสติ๊ก ของเล่นต่าง ๆ เป็นต้น

4. วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย

          หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นวัดที่มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีความวิจิตรงดงาม ทั้ง ซุ้มประตูขนาดใหญ่ รูปปั้นท่านท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ และรูปปั้นเทวดา นางฟ้าที่มีความสวยงาม รวมทั้งพระประธานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบล้านนาปิดทองคำทั้งองค์ มีพระนามว่า “พระแสงแก้วโพธิญาณ” ซึ่งก็เป็นชื่อเดียวกับวัด ภายในวัดมีการจัดสวนสีเขียวแบบทรอปิคอล มีการพ่นไอน้ำออกมาโดยรอบ บรรยากาศงดงามชวนฝันมาก ซุ้มประตูของวัดที่มีความอลังการ ด้านหน้ามีรูปปั้นพระอุปคุต และพระสังกัจจายน์ ตั้งขนาบสองข้างซุ้มประตู รูปปั้นท่านท้าวจตุมหาราชทั้งสี่ ประกอบไปด้วย ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก  มองเห็นยักษ์สองตนด้านขวานั้นในมือมีทั้งบุหรี่และเหล้า ทำสัญลักษณ์มือบอกรัก ส่วนที่เท้ามีทั้งรองเท้าแตะและรองเท้าผ้าใบคอนเวิร์ส เรียกได้ว่าเป็นปริศนาธรรมที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับวัตถุสมัยนิยมในยุคนี้ ซึ่งยักษ์ทั้ง 2 ตนนี้ได้ถูกกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง พุทธศิลป์และศิลปะที่อยู่ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณ ออกแบบสถาปัตยกรรม โดย พระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต ผสมผสานระหว่างโลกธรรม แสดงออกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวพุทธในดินแดนล้านนาอย่างชัดเจน มีการผสานงานศิลป์ 3 รูปแบบไว้อย่างกลมกลืน ทั้ง ศิลปะล้านนา ศิลปะไทยใหญ่ และศิลปะพม่า ซึ่งล้วนมีนัยที่สื่อความหมายในเชิงธรรมะและแฝงหลัก “พุทธธรรม” อันลึกซึ้งเอาไว้ในแทบทุกองค์ประกอบของวัด วิหารหลวงลายคำ มีความงดงามเป็นอย่างมาก ภายในวิหารประดิษฐาน “พระแสงแก้วโพธิญาณ” พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ทรงเครื่องล้านนาที่มีพุทธลักษณ์งดงาม บริเวณเพดานมีภาพลงรักปิดทองเป็นภาพพระพุทธรูปปางต่างๆที่มีความอ่อนช่อยงดงาม ติดกับวิหาร คือ หอระฆัง เป็นอีกจุดหนึ่งที่สร้างได้สวยงามมาก ชั้นบนมีระฆังใบใหญ่ ส่วนชั้นล่างเป็นกลอง ฐานมีรูปสัตว์ประจำปีนักษัตร 12 ปี หอระฆังนี้ตั้งอยู่ใกล้กับบันไดทางลงไปยังลานหน้าวัด บริเวณหอระฆัง มีสวนป่าในสไตล์ทรอปิคอลที่มีไอหมอกพ่นออกมาตลอด ให้ความรู้สึกงดงามชวนฝัน เหมือนกำลังเดินอยู่ในป่าหิมพานต์  วัดแสงแก้วโพธิญาณ เป็นวัดที่สร้างความตื่นตา ตื่นใจให้ตลอดการเดินเที่ยวชมใ หากผ่านมาเที่ยวดอยช้างหรือเส้นทางในอำเภอแม่สรวยต้องแวะมาทำบุญพร้อมไปกับการได้เสพงานศิลป์ที่งดงามแปลกตา

5. วัดโสธรวรารามวรวิหาร

          เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้ว และประชาชนทั่วทุกสารทิศ มาแต่อดีตกาล ตั้งอยู่บนถนนห่างจากตลาดกลางเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้นแต่แรก มีชื่อว่า “วัดหงษ์” เพราะมี “เสาหงส์” อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า “วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ “วัดโสธร” อันมีความหมายว่า “บริสุทธิ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของ พระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธรซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้ ในภายหลังวัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2501

          เรามักได้ยินคำเล่าขานเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อโสธรซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่มีความศรัทธาและทำให้มีประชาชนจำนวนมากต่างหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้และขอบารมีจากหลวงพ่อปกป้องคุ้มครองหรือรักษาโรคให้แคล้วคลาดจนมีการเล่าขานกันต่อๆมาว่าใช้ขี้ธูปดอกไม้บูชาที่แห้งเหี่ยวแล้วและอธิษฐานหยดเทียนขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อมาทำยาปรากฏว่าโรคหายจนกลายเป็นกิตติศัพท์โด่งดังไปทั่ว