พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆัง สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมสูงสุดในประเทศไทยและนักนิยมสะสมพระเครื่องทั่วประเทศต่างยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง 

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

     สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ธุดงค์ไปจังหวัดกำแพงเพชรใน พ.ศ.2391 ได้พบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ (พระซุ้มกอพระเม็ดขนุนฯลฯ) เมื่อกลับมากรุงเทพฯ หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นมาแจกชาวบ้าน 

     พระสมเด็จวัดระฆังฯ ทุกพิมพ์เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิ มีฐานสามชั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ 

     มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาว ผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราช อิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวนเขียนแล้วลบ รวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ยังมีอิทธิวัตถุอื่น เช่นใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย

 

     สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษีเกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 เวลาย่ำรุ่งที่ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อเกศ บิดาไม่ปรากฎนาม ว่ากันว่ามารดาท่านเป็นชาวบ้าน ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาท่านอาจจะเป็นชาวเมืองกำแพงเพชร 

     ท่านเกิดในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกท่าน มีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล เมื่อครั้งมีการปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 (ปัจจุบันอยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดร) ผู้ปั้นต้องอาศัยผู้ที่เกิดทันและเคยเห็นรัชกาลที่ 1 ซึ่งในขณะนั้นมีเหลือเพียงไม่กี่คนบอกพระลักษณะพระองค์ หนึ่งในนั้นก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี 

     ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2342 อายุ 12 ที่วัดสังเวชวิศยารามมีพระบวรวิริยเถร (อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์บวชแล้วข้ามไปศึกษาในสำนักพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ โดยท่านเจ้าคุณอรัญญิกวัดอินทรวิหารเป็นผู้นำไปฝากตัว พ.ศ.2350 อุปสมบที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นนาคหลวงสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์

     ในปีพ.ศ.2395 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระธรรมกิติ”

     ในปีพ.ศ.2397 โปรดฯ ให้เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระเทพกวี”            

     ในปีพ.ศ.2407 โปรดสถาปนาเป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”

     สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมรณะภาพในวันที่ 22 มิถุนายนพ.ศ.2415 ชนมายุ 85 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.