“พระสมเด็จ วัดเกศไชโย พิมพ์ 6 ชั้น อกตัน”
พระสมเด็จฯ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 ติดต่อมาจนถึงต้นรัชกาลที่ 5 แม้จะมีอายุการสร้างเพียงร้อยกว่าปี แต่วงการนิยมพระเครื่องยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง ทั้งๆ ที่พระเครื่องเก่าๆ นั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว ทั้งมีอายุการสร้างเก่ากว่าพระสมเด็จฯ เป็นร้อยๆ ปี แต่วงการนิยมพระเครื่องก็ยังยกย่องพระสมเด็จให้เป็นหนึ่ง
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จ ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อสมเด็จฯ ท่านสร้างพระพิมพ์ 6 ชั้น และ 7 ชั้นแล้ว ได้นำไปบรรจุไว้ที่ฐานหรือองค์พระโตที่ท่านสร้างไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง เมื่อพระโตได้พังทลายลงมา พระจึงเผยแพร่ออกมา
พระสมเด็จฯ เกศไชโย น่าจะมีอายุการจัดสร้างไล่ๆ กับพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม เหตุที่ว่านี้ก็เพราะได้มีการพบ พระสมเด็จฯ เกศไชโย บรรจุอยู่ในพระเจดีย์รวมกับ พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหมด้วย
พิมพ์ของพระสมเด็จฯ เกศไชโย มีเอกลักษณ์แตกต่างจาก พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม คือ ทุกพิมพ์ต้องมี กรอบกระจก และอกมีร่อง หูบายศรี (ยกเว้นพิมพ์ 7 ชั้นอกตัน) อีกทั้งมีฐานมากกว่า 3 ชั้น คือ มีฐาน 6 ชั้น และฐาน 7 ชั้น (บางท่านว่าบางพิมพ์มีฐาน 5 ชั้น)
พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ เกศไชโย มีดังนี้ พิมพ์ 7 ชั้น ได้แก่
1.พิมพ์ 7 ชั้น นิยม (พิมพ์ใหญ่)
2.พิมพ์ 7 ชั้น หูประบ่า
3.พิมพ์ 7 ชั้น ไหล่ตรง
4.พิมพ์ 7 ชั้น นักเลงโต (แขนติ่ง)
5.พิมพ์ 7 ชั้น แข้งหมอน
6.พิมพ์ 7 ชั้น อกวี
7.พิมพ์ 7 ชั้น แขนกลม
8.พิมพ์ 7 ชั้น อกตัน
9.พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์ล่ำ
และ 10.พิมพ์ 7 ชั้น ปรกโพธิ์
พิมพ์ 6 ชั้น ได้แก่
1.พิมพ์ 6 ชั้น อกตัน
2.พิมพ์ 6 ชั้น อกตลอด
3.พิมพ์ 6 ชั้น แบบ 7 ชั้น นิยม
4.พิมพ์ 6 ชั้น ไหล่ตรง
5.พิมพ์ 6 ชั้น ล่ำอกตลอด
6.พิมพ์ 6 ชั้น เข่ากว้าง
7.พิมพ์ 6 ชั้น พิมพ์ต้อ
และพิมพ์ 5 ชั้น
เนื้อพระ เป็นพระเนื้อผงขาว เช่นเดียวกับ พระสมเด็จฯ วัดระฆัง และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม เนื้อพระละเอียด เพราะผ่านการกรอง และตำผงมาอย่างดี มีมวลสารเป็นจุดสีขาวขุ่น จุดสีแดงอิฐ และจุดสีดำ คล้ายถ่านหรือใบลานเผา จุดสีน้ำตาลของเกสรดอกไม้
พระสมเด็จฯ เกศไชโย มีคราบกรุบาง หรือแทบไม่มีคราบกรุเลย เพราะถูกบรรจุไว้ในที่แห้ง และอยู่ในกรุไม่นานนัก จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีอายุน้อยกว่า พระสมเด็จฯ วัดระฆัง หรือ วัดบางขุนพรหม แต่พระที่ถูกใช้สัมผัสจะหนึกนุ่มและเนื้อจัด พระที่ไม่ใช้จะแห้งและสีออกขาว พระบางองค์แตกลายงา พิจารณาโดยรวมแล้ว เนื้อพระจะละเอียดและแข็งกว่าของพระสมเด็จฯ อีกสองสำนัก
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.