ประเภทพระ

พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

            พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้าง คือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

            พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร

            พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว

            จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย

            พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ลักษณะเป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง 

สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

  1. พิมพ์ใหญ่
  2. พิมพ์กลาง
  3. พิมพ์เล็ก
  4. พิมพ์ต้อ
  5. พิมพ์ตื้น

            พุทธคุณของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

 

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544

กดติดตาม โทน บางแค บนโซเชียลมีเดียได้ที่ 
Fanpage: โทน บางแค FC. 👉  / tone8888  
YouTube: โทน บางแค FC.👉
@Tonebangkae
IG: T_AMULET 

ปล่อยเช่าพระส่งรูปพระมาที่
ไอดี Line: @tone8888 👉
https://lin.ee/F0QaTg3 

สั่งซื้อสินค้าของ โทน บางแค/ออกบัตรรับรองพระแท้
ไอดี Line: @tshop888 👉
https://lin.ee/16zxXO0 

สถาบันการันตีและประเมินูลค่าวัตถุมงคลแห่งประเทศไทย รับออกบัตรรับรองพระแท้ Fanpage: TAG Amulet 👉  / tagamulet  
Website: 👉
https://tag-amulet.com 

ช่องทางอื่น ๆ
Fanpage: โทน บางแค VVIP 👉
  / tonevvip  
Fanpage: T-amulet Center Byโทนบางแค 👉
  / t.amuletcentertonebangkae  
Fanpage: TTC Car Wash 👉
  / carwashttc  
สั่งซื้อพระใหม่ยอดฮิต 👉
https://muengthaiamulet.com