พระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์เล็ก
พระรอดน่าจะถูกสร้างขึ้นมาโดย “พระฤาษีนารทะ” หรือ “พระฤาษีนารอด”และพระรอดเรียกตามนามพุทธรูปศิลาองค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหารวัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือพระรอดหลวง มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!ในปีพ.ศ.2451 ฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อและปฏิสังขรณ์ใหม่ พบพระรอดที่บรรจุไว้ในพ.ศ.2435 จึงนำออกมาแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงาน ในขณะนั้นและทางวัดมหาวันได้จัดสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน
ต่อมาในปีพ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัดและใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ ซึ่งกรุนี้ถือเป็นกรุพระรอดกรุใหม่และปีพ.ศ.2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ จึงทำให้มีผู้คนขุดหาพระรอดแทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด จนกระทั่งทางวัดได้ระงับการขุดพระรอด
พระรอดกรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง ข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่าใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆ ใบโพธิ์มีกิ่งก้านอยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด
ในด้านพุทธคุณเชื่อกันว่า เด่นด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยมได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.