พระสมเด็จนางพญา จ.พิษณุโลก

พระสมเด็จนางพญา จ.พิษณุโลก

พระสมเด็จนางพญา หรือที่เรียกกันว่า ราชินีแห่งพระเครื่อง เป็น 1 ในพระชุดเบญจภาคีถูกขุดพบครั้งแรกในปีพ.ศ.2444 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองและได้พบพระนางพญาจำนวนมหาศาลฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพังในระหว่างการขุดหลุมลงเสาจึงได้เก็บรวบรวมไว้และเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จฯไปวัดนางพญาก็ได้นำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จและพระนางพญาส่วนหนึ่งได้นำกลับยังกรุงเทพมหานครและถูกพบอีกในราวปีพ.ศ.2470 สมัยพระอธิการถนอมเป็นเจ้าอาวาส 

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

ลักษณะของพระนางพญาพระพุทธประติมากรรมขนาดเล็กพิมพ์เนื้อดินรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วด้านหน้าเป็นองค์พระประธานปางมารวิชัยส่วนด้านหลังนั้นมีลักษณะเรียบเป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ปรากฏแร่กรวดทรายผสมคลุกเคล้ากดเป็นองค์พระแล้วเสร็จจึงนำไปเผาจำนวนพระที่สร้างคือ 84,000 องค์ครบถ้วนตามจำนวนพระธรรมขันธ์ผ่านพิธีกรรมพุทธาภิเษกเป็นอย่างดี

ทางด้านพุทธคุณของพระนางพญาเด่นในด้านเมตตาและแคล้วคลาด 

 

วัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลกเป็นวัดที่มีความสำคัญในเมืองพิษณุโลกสองแควตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและวัดราชบูรณะวัดนางพญาถูกบูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระวิสุทธิกษัตรีย์พระมเหสีของพระมหาธรรมราชาพระองค์ทรงสร้างพระนางพญาขึ้นในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะราวปีพ.ศ. 2090 – 2100 ขณะนั้นพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวงและพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแควและพระมหาธรรมราชาทรงพระอิสริยยศที่พระอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.