พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) ท่านเป็นพระที่ไม่ยึดติดในยศศักดิ์และไม่มีภาระในการปกครองวัด ท่านจึงมีเวลาและมีอิสระในการออกธุดงค์เป็นเวลายาวนาน เป็นที่ยอมรับว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ เล่ากันว่าท่านเป็นศิษย์ของขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งว่าเป็นผู้มีวิชา “เดินตั้งแต่เมืองลพบุรีลงมาฉันเพลที่กรุงเทพฯได้” แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดในเรื่องนี้ ส่วนสาเหตุของการสร้างพระสมเด็จฯนั้นมี 2 กระแสคือ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!กระแสแรกว่า มีพระภิกษุในเมืองเขมรที่มีความนับถือในตัวท่านอาราธนาขอให้สร้างพระพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อท่านกลับมาจึงสร้างพระสมเด็จฯ ตามที่ถูกร้องขอในเรื่องนี้ น่าสงสัยคือ ในประเทศเขมรหรือกัมพูชานั้น ไม่มีคติในการสร้างพระพิมพ์เลย เหตุใดพระภิกษุเขมรที่ว่าจึงมีแนวคิดขอให้ท่านสร้างพระเครื่องได้
อีกกระแสหนึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้ธุดงค์ไปจังหวัดกำแพงเพชร ในพ.ศ.2391 ได้พบแผ่นศิลาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระพิมพ์ (พระซุ้มกอพระเม็ดขนุนฯลฯ) เมื่อกลับมากรุงเทพฯ (หลังจากนั้นได้กว่า 10 ปี ท่านจึงสร้างพระสมเด็จฯ ขึ้นมาแจกชาวบ้านในเรื่องนี้น่ารับฟังกว่า เพราะมีบันทึกหลักฐานดังที่ว่าอนึ่งตามคำบอกเล่าของเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) ลูกศิษย์ของสมเด็จฯ ทราบว่าท่านเริ่มพระพิมพ์ ในราวพ.ศ.2409 เมื่อท่านมีอายุ 78 ปี สร้างอยู่ในราว 6 ปี จึงมรณภาพในพ.ศ.2415
แม่พิมพ์พระสมเด็จ
พิมพ์มาตรฐานที่วงการพระยอมรับมีอยู่เพียง 5 พิมพ์ คือ
- พิมพ์ใหญ่ สันนิษฐานว่านำรูปแบบมาจากพระประธานสมัยสุโขทัย
- พิมพ์เจดีย์ มีลักษณะพุทธศิลปสกุลช่างเชียงแสน
- พิมพ์เกศบัวตูม พุทธลักษณะคล้ายพระเชียงแสนสิงห์ มีลักษณะคล้ายกับพิมพ์เจดีย์
- พิมพ์ฐานแซม มีพุทธศิลปแบบพระบูชาสมัยอู่ทอง
- พิมพ์ปรกโพธิ์ มีสองแบบ คือ แบบพิมพ์ฐานแซมกับพิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นพิมพ์พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิ มีฐานสามชั้นไม่ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ นับว่าเป็นศิลป์สมัยใหม่ คือ เป็นเพียงลายเส้น พระพิมพ์ก่อนหน้านั้นจะให้รายละเอียดมีพระเนตรพระนาสิก ฯลฯ ถือได้ว่า พระพิมพ์สมเด็จฯมีพุทธศิลปแบบสมัยใหม่ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกทั้งทำด้วยผงวิเศษซึ่งนับว่าเป็นของใหม่ (ก่อนหน้านั้นจะทำด้วยดินหรือชิน)
เนื้อพระ
มวลสารของพระสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็นปูนขาวผสมผงพระพุทธคุณ คือ ผงมหาราชอิทธิเจปถมังตรีนิสิงเห ฯลฯ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ทำผงกรรมวิธีแบบโบราณ คือ เขียนบนกระดานชนวน เขียนแล้วลบรวบรวมผงนำมาสร้างพระ นอกจากนี้ ยังมีอิทธิวัตถุอื่น เช่น ใบลานเผา ว่าน อิฐหัก ดอกไม้บูชาพระ ฯลฯ ทั้งหมดนำมาโขลกผสมประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว ทำให้เนื้อพระไม่เปราะหรือแตกหักง่าย
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.