





เหรียญอุปัชฌาย์คำ รุ่นแรก หลังยันต์ใหญ่ เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน ลพ.อี๋ ลพ.จาด ปลุกเสก วัดสนามจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ปี 2481
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!มีทั้งหมด2บล็อกยันต์ใหญ่และยันต์เล็กพระอุปัชฌาย์คำ พรหมสุวณณ วัดสนามจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในพระเกจิยุคเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสโดยเฉพาะชาวแปดริ้วและภาคตะวันออก วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2481” ซึ่งถือเป็นสุดยอดเหรียญดังของจังหวัด เพราะนอกจากตัวท่านแล้ว ยังมีพระเกจิชื่อดังในยุคนั้นร่วมปลุกเสกอีกมากมาย
พระอุปัชฌาย์คำ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2401 ที่บ้านปากคลองสนามจันทร์ ท่านไม่ค่อยกลัวใคร จนในละแวกนั้นต่างก็ยกให้เป็นลูกพี่
ต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2421 บิดามารดาจึงให้อุปสมบท ณ วัดสนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ มีหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “พรหมสุวณโณ”
หลังอุปสมบท เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า สามารถท่องพระธรรมวินัยและเข้าสอบพระธรรมวินัยได้ที่ 1 ท่านยังชอบศึกษาพุทธาคม ใฝ่ใจศึกษาวิทยาการต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ผู้ทรงพุทธาคมแก่กล้า ทั้ง มหาอุด พัดโบก กำบังไพร เมตตามหานิยม และสำเร็จผงปถมัง ฯลฯ
จากนั้นในราวพรรษาที่ 5 ก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อฝึกวิปัสสนา จนไปพบ “ตาปะขาวพุ่ม” ฆราวาสจอมขมังเวท จึงฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมจนแตกฉาน ทั้งมหาอุด ตะกรุดใต้น้ำ ล่องหนหายตัว ฯลฯ
ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง จนเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาที่วัด จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา สุดท้ายเป็นเจ้าคณะแขวง มรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุ 87 ปี 66 พรรษา
พระอุปัชฌาย์คำ เคร่งครัดในศีลานุวัตร มีเมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง กิตติศัพท์ด้านพุทธาคมของท่านเองก็ขจรไกล
ในปี พ.ศ.2481 ก่อสร้างอุโบสถวัดสนามจันทร์ แต่ยังขาดทุนทรัพย์อีกจำนวนมาก จึงคิดสร้าง “เหรียญรูปเหมือน” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหานำแผ่นทองแดงประมาณ 300 แผ่น ไปให้พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นร่วมกุศลจิตในการลงอักขระเลขยันต์เพื่อเป็นชนวนมวลสาร
อาทิ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดซำป่างาม หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฯลฯ แล้วนำกลับมาให้ช่างในกรุงเทพฯ รีดเป็นแผ่นโลหะแล้วปั๊มเป็นรูปเหรียญ โดยสร้างเป็นเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมีกะไหล่เงิน สำหรับแจกกรรมการด้วย
เมื่อแล้วเสร็จได้เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดสนามจันทร์ โดยมีพระเกจิชื่อดังทางภาคตะวันออกมาร่วมปลุกเสกถึง 9 รูป คือพระพุทธรังสีมุนีวงศ์(โฮ้ว) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา, พระสันทัดธรรมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี, หลวงพ่อพูน วัดตาล้อม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อศรี วัดพนัสนิคม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา และ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี แล้วนำเหรียญไปเก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยวอีก 1 พรรษา จึงนำมาแจกในงานฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดสนามจันทร์
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกพระอุปัชฌาย์คำ ปี 2481 ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์ม หูในตัว ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอุปัชฌาย์คำ ด้านบนจารึกอักษรไทยว่า “พระอุปัชฌาย์คำ” ด้านล่างว่า “พรหมสุวณณ” ด้านหลัง เป็นยันต์ตรี นิสิงเห มีอักษรไทยกำกับว่า “ที่ระลึก ในการฝังลูกนิมิตร์ วัดสนามจันทร์ อ. บ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิง เทรา ๒๔/๑๑/๘๑” แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ยันต์ใหญ่และพิมพ์ยันต์เล็กครับ
พระองค์นี้มีบัตรรับรองจาก
TAG (THAI AMULET GUARUNTEE)
สถาบันการันตีและประเมินมูลค่าวัตถุมงคลแห่งประเทศไทย