หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!หลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม “เก้ายอด” ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๐ ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา ซึ่งตั้งรกรากทำนามาแต่บรรพบุรุษ ในตำบลเชียงรากนั่นเอง นายหรุ่น ไม่เคยสนใจในการทำนา และไม่เคยช่วยบิดามารดาทำงานเลย สนใจแต่เพียงว่า มีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่เก่งกล้าในวิชาอาคมทางไสยศาสตร์อยู่ที่ไหน เป็นต้องหนีออกจากบ้านไปครั้งละหลายวัน บางครั้งก็เป็นเดือน
อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปี พ.ศ.๒๔๓๑ โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ประมาณ ๓ พรรษาครึ่ง ท่านจึงเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ มาประจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพฯ
ต่อจากนั้น เมื่อลูกหลานทราบข่าวก็พากันมาพร้อมทั้งสานุศิษย์ เพื่อขอของขลังจากท่าน ในระหว่างนั้นท่านยังไม่ได้ทำเครื่องรางของขลังไว้เลย ท่านจึงได้ลงมือสักหลังมาตั้งแต่บัดนั้น จนมีกิติศัพท์ร่ำลือว่า “เก้ายอด” กรุงเทพสมัยนั้นย่อมทราบดีว่า นักเลงดังๆ ไม่มีใครเกินก๊ก “เก้ายอด”
หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวณอายุได้ ๘๑ ปี พอดี
ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคโบราณ จอมขมังเวทย์วิทยาคมสุดยอดอาคมเข้มขลัง ชื่อเสียงโด่งดังสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ท่านเก่งกล้าวิชาอาคมตั้งแต่เป็นฆราวาส เคยเป็นเสือเก่าแต่กลับตัวกลับใจมาบวชเป็นพระ ในสมัยนั้นไม่มีใครสามารถปราบเสือหรุ่นลงได้ ท่านมีวิชาผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปได้ทุกครั้ง ในเวลาต่อมาท่านได้กลับใจเป็นคนดีเข้ามาช่วยราชการ จนได้รับพระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจลใจภารา ต่อมามีเหตุการณ์ให้ต้องออกจากราชการหนีมาบวชพระ ต่อมาท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาสักยันต์เก้ายอด ในสมัยนั้นในวงการนักเลงคนจริง ไม่มีใครไม่รู้จัก เรียกว่า “นักเลงเก้ายอด”
เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างไว้ระยะหลังมีอยู่ ๔ ชนิด คือ
๑. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์
๒. ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ ๑ เกรียก (ยาวประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ ๒ องคุลีนิ้ว)
๓. กระดูกห่าน ลงจารขอม ยาวประมาณ ๑ องคุลี
๔. แหวนขาวเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย
ของทุกชิ้นใน ๔ ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฏมาเป็นของคงกระพันชาตรีโดยตรง
วันนี้ผมจะมาสอนดูตำหนิเหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด รุ่นแรก เนื้อทองแดง แบบชี้จุดจ่ายตังค์เลยครับ
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอดวัดอัมพวัน กรุงเทพฯ จัดสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2465-2469 เป็นเหรียญที่หลวงพ่อสร้างขึ้นเองมีจำนวนน้อยมาก
ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญทรงรูปไข่ปั้มขอบกระบอก หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อหรุ่นครึ่งองค์ รอบรูปเหมือนเป็นยันต์ด้านบนเป็นตัว “อุ” หางยาวไปจรดเหรียญบรรทัดลงมาอ่านได้ว่า “อะระหัง” บรรทัดต่อมาอ่านได้ว่า “มะอะ” บรรทัดลงมาเป็นตัว “อุ” ซ้อนกัน 2 ตัว
ด้านหลังเป็นบล็อกหลังยันต์นะ องค์พระในวงกลมพิมพ์นี้ ยันต์นะ จะอยู่ภายในเส้นล้อมวงรูปไข่โดยรอบจะเป็นอักขระขอม
ชี้ตำหนิ
ด้านหน้า เส้นแตกคมชัด ตัวหนังสือเป็นแท่งเหลี่ยมสันคมชัดเจน ดูใบหน้าตากลมเป็นหลุมลึก ผิวเหรียญตึง เม็ดประคำนูนคม มีเส้นสเกลพิมพ์คมชัด ขอบเหรียญตั้งคม มีรอยกลึง
ด้านหลัง ตัวหนังสือเป็นแท่งคมชัด เส้นขอบเป็นสันคม ไม่ล้ม เหรียญไม่บวม ผิวเป็นกาบเกิดจากการรีดโลหะไม่ดี มีโอกาสแท้สูง
ด้านข้างอัดกระบอกและแต่งขอบข้างให้ตรงแต่จะมีรอยปลิ้นเล็กน้อย
สามารถดูคลิปวิดีโอสอนได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ZtM_QQw2vB8
ถ้าคุณมีพระแบบนี้ ผมรับซื้อ ส่งรูปพระของคุณมาที่ Line : @tone8888
ติดตามไลฟ์สดพระแท้ อยากได้พระดี อยากมีพระแท้ ต้องเพจเฟสบุ๊ก โทน บางแค FC. เท่านั้น
#โทนบางแคFC #หยิบกล้องส่องพระbyโทนบางแค #หลวงพ่อหรุ่น #วัดอัมพวัน #รับเช่าพระ