พระสมเด็จระฆังหลังฆ้อน เนื้อเมฆสิทธิ์

พระวัดระฆังหลังฆ้อน เนื้อเมฆสิทธิ์

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชกุล อิศรางกูรฯ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ของวัดระฆังก่อนหน้า พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2453-2457 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี 2464) และสร้าง พระสมเด็จหลังฆ้อน อีกครั้งช่วงปี 2458-2470

โดยท่านได้นำเอาแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่าง ๆได้ลงอักขระไว้ นำมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราชที่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ พระที่สร้างในคราวแรกจะมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ และเนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ก็เคยพอเห็น ..แต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่ที่จริงๆก็ไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนได้ยาก

สำหรับพระที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้นมีจำนวนถึง 60 รูป ได้แก่
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก , หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง , หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ , หลวงพ่อพ่วง วัดกก ,
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ , หลวงพ่อชู วัดนาคปรก , หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้) , หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ,
หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม , หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม , หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ , หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม ,
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก , หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว , หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ,
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) , สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ร่วมพิธีปลุกเสกฯลฯ

ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมาประทับนั่งปางสมาธิบนอาสนะบัว 2 ชั้นอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้วด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็นเม็ดกลม รายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลังเป็นแบบเรียบ ตอนสร้างสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งไม่ได้ขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 1 บาท อีกอย่างหนึ่งเป็นพระขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 2 บาท วิธีขัดท่านจ้างโยมปั้นผู้ชำนาญในการพระซึ่งแกอยู่ที่หอไตรฯในสระ เอาตะไบลงตะไบที่มุมทั้งสองตอนบน และข้างทั้งสอง ทำให้มีรูปลักษณะมน ๆ แล้วเอากระดาษทรายลงขัดอีกจนทั่วทั้งด้านหน้าและหลัง แล้วจึงเอารากลำพูลงขัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วดูงามมาก

พระองค์นี้มีบัตรรับรองจาก
TAG (THAI AMULET GUARUNTEE) 
สถาบันการันตีและประเมินมูลค่าวัตถุมงคลแห่งประเทศไทย 

  • สนใจเช่าพระสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่  Line : @TONEVVIP
  • มีแบบนี้ต้องการปล่อยเช่า ส่งภาพของท่านมาที่ Line : @TONE8888