ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ

“ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” พระนักบุญแห่งแดนล้านนา

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

ครูบาถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของ โยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน

ครูบาเรียนที่โรงเรียนสารภีจบแล้ว ก็ได้บวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2541 ณ วัดชัยมงคล ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ขณะที่มีอายุ 17 ปี

ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพัทธสีมาชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีพระครูภัทรปัญญาธร วัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า “ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” และได้จำพรรษอยู่ที่วัดพัทธสีมาชัยมงคล (วังมุย) โดยท่านได้มุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมเป็นหลักสำคัญ

ปัจจุบัน “ครูบาอริยชาติ” ได้มาสร้างวัดแห่งใหม่ ชื่อว่า “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ” บนพื้นที่เนินเขาบ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  โดยเริ่มวางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างเมื่อวีนที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรวกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก

“ครูบาอริยชาติ” มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ ในเหตุที่ท่านอยู่กรรม เข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน การเข้านิโรธสมาบัตินี้ ตามคัมภีร์ของพุทธศาสนาฝ่ายล้านนา เชื่อว่า พระอริยบุคคลระดับพระอนาคามีขึ้นไปเท่านั้นที่ทำได้ เพราะถ้าเข้านิโรธเต็มกำลัง ไม่ฉัน ไม่ถ่าย ไม่พูด ไม่จา นั่งภาวนาตลอดเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เหนือเวทนาทั่วไปที่มีมนุษย์ธรรมดาจะทำได้ แต่สำหรับ “ครูบาอริยชาติ” ท่านเรียกการเข้านิโรธของท่านว่า “การอยู่กรรม” ซึ่งจะกระทำในวันเข้าพรรษา  ซึ่งท่านจะอยู่กรรมทุกปี โดยมีชาวบ้านและพระสงฆ์จากวัดต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าดูแล ด้านนอกกระโจม และรอที่ที่จะใส่บาตรครูบาในวันที่ออกจากนิโรธ

ซึ่งนอกจากการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน และข้อวัตรต่างๆ ตามพระธรรมวินัยแล้ว พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ซึ่งเป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ได้สร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ และช่วยงานสาธารณประโยชน์ อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งด้านสาธารณสงเคราะห์ ท่านได้จัดตั้งหน่วยกู้ภัยแสงแก้วโพธิญาณ อุปถัมภ์ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เพื่อสนองงานในการช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุฉุกเฉิน ด้านการศึกษา ท่านได้แจกทุนการศึกษา ให้แก่นักเรียนทุกปี อย่างน้อยปีละ 7,000   ทุน และได้จัดตั้งโครงการเพชรล้านนา ด้านสาธารณูปการ ท่านก็ได้ช่วยเหลืองานต่างๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน โรงพยาบาล วัดอื่นๆ ชุมชน หมู่บ้าน และอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯ เป็นต้น