ประวัติความเป็นมา หลวงพ่อค้ำ เกจิชื่อดังแห่งสุพรรณบุรี

ในยุคสมัยนี้ ความเชื่อ ความศรัทธา ในเกจิครูบาอาจารย์ นั้น ไม่ได้เสื่อมคลายลง ยังมีผู้มีความเลื่อมใสอยู่จำนวนไม่น้อย ที่ต้องการ ที่พึ่งทางใจ เสริมกำลังใจ เพื่อให้นำพาชีวิต เดินหน้าต่อไปได้ และหากจะกล่าวถึงเกจิอาจารย์ ที่มีลูกศิษย์และผู้ศรัทธา ให้ความเคารพนับถือจำนวนไม่น้อยนั้น ถ้าจะหากล่าวไปแล้วก็มีด้วยกันหลายรูปทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ในวันนี้ เราจะขอพูดถึงหนึ่งในเกจิอาจารย์ แห่งเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นั่นก็คือ หลวงพ่อบุญค้ำ วัดชัยเภรีย์ 

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

ประวัติหลวงพ่อบุญค้ำ วัดชัยเภรีย์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคของเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พระเกจิสายเมตตามหานิยม กับวิชาเป่าทองอันเลื่องชื่อ สำหรับ หลวงพ่อบุญค้ำ  หรือ พระครูสุวรรณธรรมมาภิรักษ์  ฉายา “ ปุญฺญูปถมฺโภ ” ภิกขุ แปลว่า เป็นผู้มีบุญอุปถัมป์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชัยเภรีย์ หรือ(วัดบ้านโข้ง) ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นามเดิมของท่าน บุญค้ำ โคนันท์ ช่วงวัยเยาว์ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ศึกษาวิชาจากหลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู, จากพ่อเฒ่าจูม พรหมหนองโดก, พ่อเฒ่าสิงห์, พ่อเฒ่ากิ อมรธัมโม

ในปี พ.ศ.2526 เจ้าคุณพระเทพโสภณ(หลวงเตี่ย) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ได้รับสามเณร บุญค้ำ โคนันท์ ไว้ในความอุปถัมภ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2531 ท่านพระเดชพระคุณหลวงเตี่ย มีความเมตตาได้มาเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้สามเณรค้ำ เป็นพระภิกษุ และได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเชี่ยวชาญและมีพลังจิตกล้าแกร่ง โดยฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูสุวรรณโพธิวัฒน์ (หลวงปู่เพียว) วัดโพธิ์ทองเจริญ (บ้านขาม) อดีตพระเกจิดังแห่งอู่ทอง

ขณะเดียวกัน วัตถุมงคลต่าง ๆของท่านนั้น ก็ได้รับความนิยมหลายต่อหลายรุ่น วัตถุมงคลของท่านเน้นไปในทางเมตตามหานิยม เป็นที่พึ่งสำหรับคนทำมาค้าขาย แต่ก็ปรากฏด้านแคล้วคลาดคงกระพันให้เห็นอยู่เนืองๆ เช่น   เครื่องราง อาทิเช่น ลิงจ๋ออุ้มทรัพย์  หมาป่าล่าทรัพย์  เสือตะปบทรัพย์ ปลิงดูดทรัพย์ ปลัดขลิก  ผ้ายันต์ และตะกรุดต่างๆ ท้าวเวสสุวรรณ  กุมารเทพ เทพราหู  สีผึ้ง เป็นต้น

และสำหรับในส่วนประวัติของ วัดชัยเภรีย์ วัดแห่งนี้ย้อนไปในอดีต เกิดศึกสงครามใหญ่ภายกรุงเวียงจันทน์ ประชาชนลาวหอบลูกจูงหลานหลบลี้หนีภัยเข้ามาพึ่งร่มโพธิสมภารในประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือ “ พ่อเฒ่ากองทา ” ได้พาลูกหลานและญาติพี่น้องเชื้อสายลาวเวียง อพยพเข้ามาครั้งแรกพำนักที่หมู่บ้านสมอคอน แต่พื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ จึงย้ายมา ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

 

ตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อว่า “ บ้านโข้ง ” ตามนามเดิมของหมู่บ้านเก่าสมัยอยู่เวียงจันทน์ พำนักอยู่นานหลายปี ผู้เฒ่ากองทา ศรัทธาพระพุทธศาสนา จึงร่วมกับลูกหลานสร้างวัดขึ้นบนเนื้อที่ 4 ไร่เศษ เดิมชื่อ“ วัดบ้านโข้ง ” และช่วยกันขุดกองเพลขนาดใหญ่ 1 ลูก ถวายให้วัด ต่อมามีพระนักปราชญ์มาจากกรุงเวียงจันทน์ ชื่อ “ หลวงพ่อคูหา ” นำพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ 3 องค์ และระฆังเนื้อทองสัมฤทธิ์ ๑ ใบ มาถวายเพิ่มเติม และช่วยไล่โฉลกกองเพล ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “ ชัยเภรีย์ ศรีซมซื่น อื่นเมียงคม สมอยู่สร้าง ม้างสังโฆ โพธิสัตว์ วัดพระเจ้า ” เพื่อเอาเคล็ดว่ากองเพลของวัดใบนี้ เป็นกองที่นางพิมพิลาไลตีเล่นเมื่อครั้งวัยเยาว์ เป็นกลองแห่งชัยชนะในศึกสงครามและใช้ชื่อว่าวัดชัยเภรีย์จากนั้นมา